เงินได้ ที่ไม่อาจพิสูจน์แหล่งที่มาได้

เงินได้ ที่ไม่อาจพิสูจน์แหล่งที่มาได้


เงินได้ ที่ไม่อาจพิสูจน์แหล่งที่มาได้

ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยนั้น ผู้มีเงินได้จะต้องนำ “เงินได้พึงประเมิน” (Assessable Income) ที่ได้รับในปีภาษี มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเกณฑ์การรับรู้เงินได้ดังกล่าวจะใช้เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) เป็นหลัก

กล่าวคือ ตามหลักทั่วไปความรับผิดในการเสียภาษี (Tax Point) สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะเกิดต่อเมื่อผู้มีเงินได้นั้นได้รับเงินได้จริง จึงจะมีหน้าที่นำเงินได้ที่ได้รับมาแล้วในปีภาษี มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหากยังไม่ได้รับเงินได้จริง ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยังไม่เกิดขึ้นแต่อย่างไรก็ดี ในบางกรณีกฎหมายอาจกำหนดให้ถือว่ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้รับเงินจริงก็ได้ โดยอาจมีหลักในการพิจารณาพิเศษเป็นกรณีไป อันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ซึ่งเงินได้ดังกล่าวจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ถือว่าได้รับโดยผลของกฎหมาย(Deemed Income)บทความเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับ “เงินได้ที่ไม่อาจพิสูจน์แหล่งที่มาได้” โดยมีประเด็นปัญหาว่าเงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ หากเป็นแล้วจะจัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด สามารถหักค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ อย่างไร

Click Download รายละเอียดเงินได้ ที่ไม่อาจพิสูจน์แหล่งที่มาได้ คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 396
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์