รับจ้าง หรือ วิชาชีพอิสระ ตีความผิด ภาษีเปลี่ยน

รับจ้าง หรือ วิชาชีพอิสระ ตีความผิด ภาษีเปลี่ยน


รับจ้าง หรือ วิชาชีพอิสระ ตีความผิด ภาษีเปลี่ยน

ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พบได้บ่อย คือ ความแตกต่างระหว่างเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร กับเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร(การประกอบโรคศิลปะ วิชากฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม)
จากการศึกษาค้นคว้าแนวคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการแยกประเภทเงินได้จากการรับทำงานให้ (มาตรา 40 (2)) ออกจากเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (มาตรา40 (6)) ผู้เขียนพบว่าแนวทางในการวินิจฉัยนั้นแตกต่างกันออกไปสำหรับแต่ละวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเดียวกันแต่มีภาระภาษีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ที่มีเงินได้ประเภทเดียวกัน และยังเป็นเหตุให้เกิดข้อพิพาทระหว่างกรมสรรพากรและผู้เสียภาษี หลายข้อพิพาทถูกนำขึ้นสู่ศาลภาษีอากรกลางและถึงศาลฎีกาบทความนี้จึงขอนำเสนอแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ที่สนใจเรื่องภาษีอากรในการวินิจฉัยว่าเงินได้พึงประเมินที่ผู้เสียภาษีได้รับนั้น เป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) หรือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

1. มาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากรเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรานี้ หมายถึง“เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัสเงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายได้จ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว”เงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ได้รับนั้นจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่

กรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์โดยสรุป ดังนี้

1. เงินได้เกิดจากการปฏิบัติงานของผู้มีเงินได้ โดยนายจ้างต้องมีวัตถุประสงค์มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก
2. นายจ้างไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาควบคุมการทำงาน และ
3. ลักษณะการจ่ายเงินค่าจ้าง เป็นการเหมาจ่ายและไม่มีการลงเวลาปฏิบัติงาน

Click Download รายละเอียดรับจ้าง หรือ วิชาชีพอิสระ ตีความผิด ภาษีเปลี่ยนคลิกได้ที่รูปภาพ

อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 555
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์