• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3495 อากรแสตมป์ กรณีการขอคืนอากรแสตมป์สำหรับการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร

เลขที่หนังสือ กค 0702/3495 อากรแสตมป์ กรณีการขอคืนอากรแสตมป์สำหรับการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3495 อากรแสตมป์ กรณีการขอคืนอากรแสตมป์สำหรับการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร

เลขที่หนังสือ กค 0702/3495 อากรแสตมป์ กรณีการขอคืนอากรแสตมป์สำหรับการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3495
วันที่ : 5 กรกฎาคม 2564
เรื่อง : อากรแสตมป์ กรณีการขอคืนอากรแสตมป์สำหรับการขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 91/2 (6) , พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 342)ฯ , ตราสารที่ 28 (อากรแสตมป์)
ข้อหารือ 1. นางสาว ก. ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ของเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร นางสาว ก. ได้ชำระเงินค่าอากรแสตมป์ จำนวน 61,200 บาท ให้สำนักงานบังคับคดีแพ่งฯ ตามแนวปฏิบัติตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 810/2556 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดจะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีอากรต่าง ๆ จากการขายอสังหาริมทรัพย์และค่าอากรตามประมวลรัษฎากร เอง ทั้งหมด โดยผู้ซื้อทรัพย์ไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือ ค่าอากรแสตมป์มาขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ต่อมาสำนักงาน บังคับคดีแพ่งฯ ได้นำส่งเงินค่าอากรแสตมป์จำนวนดังกล่าวให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขา
2. วันที่ 26 เมษายน 2562 นางสาว ก. (ผู้ซื้อ) ได้จดทะเบียนรับโอนห้องชุดที่ได้ซื้อมาจาก การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยนางสาว ก. ได้ชำระภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา จำนวน 1,145,012 บาท ภาษีธุรกิจเฉพาะ จำนวน 611,147 บาท และ รายได้ส่วนท้องถิ่น 61,115 บาท ตามใบเสร็จรับเงิน ลงวันที่ 26 เมษายน 2562 ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง
3. วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 สำนักงานบังคับคดีแพ่งฯ ได้มีหนังสือ แจ้งให้กรมสรรพากร คืนเงินค่าอากรแสตมป์ จำนวน 61,200 บาท ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจะส่งคืนให้ นางสาว ก. พร้อมทั้งหารือแนวปฏิบัติกรณีการขอคืนเงินอากรแสตมป์สำหรับ การขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดีแพ่งฯ
แนววินิจฉัย การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หากเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร อยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 โดยใบรับสำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสีย ภาษีธุรกิจเฉพาะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28. แห่งบัญชี อัตราอากรแสตมป์ กรณีตามข้อเท็จจริง นางสาว ก. ซึ่งเป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการ ขายทอดตลาดและเป็นผู้ชำระค่าอากรแสตมป์ตามแนวปฏิบัติคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 810/2556ฯ ลงวันที่29 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการ ขายทอดตลาดจะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีอากรต่าง ๆ จากการ ขายอสังหาริมทรัพย์และค่าอากรตามประมวลรัษฎากรเองทั้งหมด ดังนั้น นางสาว ก. จึงมีสิทธิขอคืนค่าอากรแสตมป์ที่ได้เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
เลขตู้ : 84/51213


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 435
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์