• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3198 กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

เลขที่หนังสือ กค 0702/3198 กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3198 กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

เลขที่หนังสือ กค 0702/3198 กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3198
วันที่ : 8 มิถุนายน 2566
เรื่อง : กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562
ข้อกฎหมาย : มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562
ข้อหารือ : บริษัท ก (บริษัทฯ) ยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.3) ประจำเดือนมิถุนายน 2562 ด้วยแบบกระดาษภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2562 โดยเข้าใจว่าการยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตาม มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นการนับตามเดือนภาษี ไม่ได้นับตามวันที่ในปฏิทิน และเข้าใจว่าในรอบเดือนภาษีกรกฎาคม 2562 ถึงเดือนภาษีมิถุนายน 2563 ต้องไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบกระดาษ (ต้องยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต) บริษัทฯ จึงขอหารือเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ว่าระยะเวลาที่กำหนดหมายถึงกำหนดเวลาสำหรับเดือนภาษีหรือสำหรับวันที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
แนววินิจฉัย : พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ หรือที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้วแต่ไม่ถูกต้อง ก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2562 ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 5 และต้องได้ดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562
  จากนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ให้ครบถ้วนด้วย กล่าวคือ จะต้องดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี และแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สำหรับภาษีอากรทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วน สำหรับการยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งหมายถึงการยื่นแบบแสดงรายการที่กระทำในช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึงว่าเป็นแบบแสดงรายการของเดือนภาษีใด ดังนั้น หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรณีดังกล่าวให้ครบถ้วน ก็จะหมดสิทธิได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ และกรมสรรพากรจะดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรต่อไป ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเหตุอันสมควร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องยื่นรายการภาษีอากรทุกประเภทภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 147
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์