• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2479 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab)

เลขที่หนังสือ กค 0702/2479 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab)

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2479 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab)

เลขที่หนังสือ กค 0702/2479 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab)

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2479
วันที่ : 8 พฤษภาคม 2566
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab)
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (20) มาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
  มาตรา 4 (1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 315)ฯ
  ข้อ 2 (1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42ฯ)
ข้อหารือ        หน่วยงาน ก. หารือเกี่ยวกับรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) เพื่อนำมาใช้ในกิจการตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 ที่ได้มีการแก้ไขอัตราภาษีสรรพสามิต ดังนี้
  1. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกินคันละ1,000,000 บาท ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 ใช่หรือไม่
  2. กรณีผู้ประกอบการเช่ารถยนต์กระบะสี่ประตูมาใช้ในกิจการ ค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินคันละ 36,000 บาท ต่อเดือน หรือค่าเช่าส่วนที่เกินคันละ 1,200 บาท ต่อวัน ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 ใช่หรือไม่
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ใช่หรือไม่
  4. หากรถยนต์กระบะสี่ประตูดังกล่าว จดทะเบียนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเป็นประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ป้ายทะเบียน พื้นขาว ตัวอักษรสีดำ หรือมีการต่อเติมหลังคา จะถือเป็นรถยนต์กระบะสี่ประตูตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต 6.03 หรือไม่ และทำให้ภาระภาษีตาม 1 และ 2 เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย : กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดมีรายจ่ายและภาษีซื้อสำหรับการซื้อรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) เพื่อนำมาใช้ในกิจการ หากรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นประเภทรถยนต์กระบะตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ประกอบกับกฎกระทรวง กําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และประกาศกรมสรรพสามิตฯ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 รายจ่ายที่เป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือค่าเช่าทรัพย์สินที่นำมาใช้ในกิจการของตนเองและเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ กรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 และภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์กระบะดังกล่าว ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 142
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์