หลักเกณฑ์การจัดระดับเป็นผู้ประกอบการการส่งออกที่ดีและขึ้นทะเบียน

หลักเกณฑ์การจัดระดับเป็นผู้ประกอบการการส่งออกที่ดีและขึ้นทะเบียน


หลักเกณฑ์การจัดระดับเป็นผู้ประกอบการการส่งออกที่ดีและขึ้นทะเบียน


1.คุณสมบัติ
2.เงื่อนไข
3.สิทธิประโยชน์
4.การยื่นคำขอ


ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี

เป็นบริษัทจำกัด หรือนริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ยกเว้น ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งของออกระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO) ของกรมศุลภากร
มีการประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับระยะเวลา 12 เดือนก่อนยื่นคำขอ ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นโปต่อยอดขายร่วม และส่งสินค้าไปขาย ยังต่างประเ เทศ ในอัตราส่วนหรือร้อยละ 50 ขึ้นไป กรณีเป็นผู้ส่งของออกระดับมาตรฐาน AEOของกรมศุลกาทร
มีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ
มีความมั่นคง ความต่อเนื่อง ความน่าเชื่อถือในการประกอบกิจการ และมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน
มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของกิจการ และไม่มีพฤติการณ์หลีกเสี่ยงภาษี
เป็นสมาชิกของสมาคม หรือองค์กรกาคเอกขน (ในทางการค้า) เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หรือเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและหน่วยงานดังกล่าวรับรองว่ามีการประกอบ กิจการอยู่เป็นปกติ ไม่มีข่าวสารที่แสดงถึงการขาดความน่าเชื่อถือทางการเงิน และมีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่อย่างไต

ผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน

เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษักมหาชนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
มีการประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อปีภาษี และส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในอัตราส่วนต่อยอดขายรวม สำหรับระยะเวลา 12 เตือนท่อนยื่นคำขอตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป

มีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี/ปีภาษีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ


มีความมั่นคง ความต่อเนื่อง ความน่าเชื่อถือในการประกอบกิจการ และมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน

มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของกิจการ และไม่มีพฤติการณ์หลีกเสี่ยงภาษี
เป็นสมาชิกของสมาคม หรือองค์กรกาคเอกขน (ในทางการค้า) เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด หรือเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและหน่วยงานดังกล่าวรับรองว่ามีการประกอบกิจการอยู่เป็นปกติ ไม่มีข่าวสารที่แสดงถึงการขาดความน่าเชื่อถือทางการเงิน และมีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่อย่างใด


อบคุณบทความจาก :: กรมสรรพากร
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 152
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์