ประเภทเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

ประเภทเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี


เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีอยู่หลายกรณีที่สําคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรการยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้

(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรือผู้รับทํางานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะ ในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกําหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา
ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจําเป็นเพื่อการ
เดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง

(4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทําสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้
พุทธศักราช 2475 มีข้อกําหนดว่า นายจ้างจะชําระเงินบําเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจํานวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจํานวนนั้นจะได้ชําระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบําเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทําในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี
เงินได้

(5) เงินเพิ่มพิเศษประจําตําแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สําหรับ
ข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ

(6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล


(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทาง
ราชการจ่ายให้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจํานวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาทตลอดปีภาษีนั้นทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือ
หากําไร แต่ไม่รวมถึงเรือกําปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป หรือแพ

(10) เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558)

ฯลฯ Click

อบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 398
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์