การเก็บภาษีย้อนหลัง คืออะไร?....มาทำความเข้าใจกัน

การเก็บภาษีย้อนหลัง คืออะไร?....มาทำความเข้าใจกัน

 


การเก็บภาษีย้อนหลัง คืออะไร?....มาทำความเข้าใจกัน

การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) จะเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะดำเนินการโดย 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี คือ

  • กรมสรรพากร
  • กรมศุลกากร
  • กรมสรรพสามิต

สาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง?

การที่คุณโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้น สันนิษฐานได้ว่ามาจาก 2 กรณี คือ

  1. คุณยังไม่ได้จ่ายภาษี
  2. คุณจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง

 

ซึ่งข้อที่ 2 นั้นจะมีความซับซ้อนกว่า เพราะ มันอาจจะเป็นไปได้หลายกรณีทั้ง การจ่ายภาษีไม่ครบ การระบุรายได้ไม่ถูกต้อง การโดนเรียกจ่าย VAT ย้อนหลัง หรือการที่คุณตั้งใจจะหลีกเลี่ยงภาษี

วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร

  1. การออกตรวจเยี่ยม คือ การออกไปตรวจเยี่ยมผู้เสียภาษีด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจมากกว่า
  2. การตรวจนับสต็อกสินค้า ใช้กับผู้ที่ทำธุรกิจการค้าขายทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งการนับสต็อกสินค้าจะทำให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้เสียภาษีครบถ้วนหรือไม่ นั่นเอง
  3. การสอบยันใบกำกับภาษี การทำ ใบกำกับภาษีปลอม เป็นอีกหนึ่งวิธีหลีกเลี่ยงภาษียอดฮิต ดังนั้น กรมสรรพากรจึงใช้วิธีการตรวจสอบภาษีด้วยการสอบยันใบกำกับภาษี เพื่อดูว่ามีการปลอมขึ้นมาบ้างไหม จากนั้นจึงคิดคำนวณภาษีที่ถูกหลีกเลี่ยงไปพร้อมกับเรียกเก็บย้อนหลังค่ะ
  4. การตรวจคืนภาษี วิธีนี้จะใช้ตรวจภาษีกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นวิธีที่ทางกรมสรรพากรจะใช้บ่อยมาก
  5. การตรวจค้น วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมากและชัดเจน โดยจะเข้าทำการตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมทั้งยึดและอายัดบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีไว้ด้วย
  6. การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี กรมสรรพากรจะทำการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษี โดยผู้เสียภาษีจะต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารต่างๆ ให้พนักงานทำการตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีก็จะดำเนินการเรียกคืนภาษีย้อนหลังต่อไป

การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่?

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

มีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ามีหลักฐานว่าบุคคลนั้นจงใจ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี จริง จะสามารถขยายเวลาขออายุความไปได้ถึง 5 ปี ค่ะ

  • ภาษีธุรกิจ

สามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้มากถึง 10 ปี ตาม มาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกแต่อย่างใด ซึ่งอายุความเรียกเอาหนี้ภาษีอากรคืน จะนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการยื่นแบบภาษีค่ะ

ไม่อยากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ทำอย่างไรได้บ้าง

  1. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเกี่ยวกับรายรับของตนเองให้เรียบร้อยก่อนยื่นภาษี
  2. ตรวจสอบดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหนกันแน่ (เนื่องจากมันมีผลกับการหักค่าใช้จ่ายค่ะ)
  3. ตรวจสอบรายการลดหย่อน ที่มีสิทธิใช้ (เนื่องจากมีผลกับยอดคงเหลือเงินได้สุทธิ)
  4. ตรวจสอบรายการลดหย่อน ที่มีสิทธิใช้ (เนื่องจากมีผลกับยอดคงเหลือเงินได้สุทธิ)



ขอบคุณบทความจาก
 : Rabbit Finance
ประกาศบทความโดย : www.prosofterp.com

 44974
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Depreciation Reversal เป็นหน้าต่างสำหรับกลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สิน เมื่อมีการโพสต์บัญชีค่าเสื่อมทรัพย์สินลง GL แล้ว แต่ข้อมูลที่โพสต์นั้นเกิดความผิดพลาด ผู้ใช้สามารถมาทำการกลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สินได้ที่เมนูนี้
Export G/L (การส่งออกข้อมูลบัญชีค่าเสื่อมทรัพย์สิน ) สามารถส่งออกข้อมูลบัญชีค่าเสื่อมทรัพย์สินจากโปรแกรม iERP ไปยัง Database ปลายทางอื่นได้
Asset under Construction (AUC) คือ ทรัพย์สินระหว่างการก่อสร้าง ใช้สำหรับบันทึกรายการทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือระหว่างทำ โดยการรวบรวมรายจ่ายระหว่างทำทั้งหมด เพื่อบันทึกเป็นมูลค่าของทรัพย์สินในการขึ้นทะเบียนและคิดค่าเสื่อมราคาต่อไป
Asset management การบริหารจัดการทรัพย์สิน เพื่อการดูแลทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเรื่องง่ายดาย
Approval Option ใช้สำหรับกำหนดข้อมูลการอนุมัติของแต่ละหน้าจอ และสามารถตั้งค่าการอนุมัติได้ว่าให้ทำการส่งการแจ้งเตือนประเภทไหน รูปแบบไหน และแจ้งเตือนไปยังใครได้บ้างซึ่งการกำหนดการอนุมัติจะสามารถกำหนดให้ใช้กับทุกบริษัท หรือแยกกำหนดตามแต่ละบริษัทได้
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์