• Home

  • บทความที่น่าสนใจ

  • วิธีแก้ไข เมื่อบันทึกตัดจำหน่ายทรัพย์สินแล้วฟ้อง เดบิต เครดิต ไม่เท่ากัน มาดูวิธีการแก้ไขกันเลยดีกว่า

วิธีแก้ไข เมื่อบันทึกตัดจำหน่ายทรัพย์สินแล้วฟ้อง เดบิต เครดิต ไม่เท่ากัน มาดูวิธีการแก้ไขกันเลยดีกว่า

  • Home

  • บทความที่น่าสนใจ

  • วิธีแก้ไข เมื่อบันทึกตัดจำหน่ายทรัพย์สินแล้วฟ้อง เดบิต เครดิต ไม่เท่ากัน มาดูวิธีการแก้ไขกันเลยดีกว่า

วิธีแก้ไข เมื่อบันทึกตัดจำหน่ายทรัพย์สินแล้วฟ้อง เดบิต เครดิต ไม่เท่ากัน มาดูวิธีการแก้ไขกันเลยดีกว่า


วิธีแก้ไข เมื่อบันทึกตัดจำหน่ายทรัพย์สินแล้วฟ้อง เดบิต เครดิต ไม่เท่ากัน มาดูวิธีการแก้ไขกันเลยดีกว่า  Click 

การตัดจำหน่ายทรัพย์สิน (Asset Retirement) เป็นการลบรายการทรัพย์สินหรือทรัพย์สินบางส่วนออกจากรายการ การลบรายการทรัพย์สิน(หรือทรัพย์สินบางส่วน) เป็นการทำรายการทางฝั่งของบัญชีเป็นทรัพย์สินที่หมดอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาขององค์กรหรือการทำธุรกรรมทางธุรกิจที่จะนำไปสู่การตัดจำหน่าย

สามารถแบ่งประเภทของการตัดจำหน่ายทรัพย์สินได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.การตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบไม่เกิดลูกหนี้ – สามารถตัดจำหน่ายทรัพย์สินพร้อมกับรอตั้งหนี้ลูกหนี้ โดยระบุรายละเอียดในการตัดขาย เพื่ออ้างอิงไปทำการหักล้างบัญชีภายหลังได้
2.การตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบจำหน่ายตัดซาก – การตัดจำหน่ายประเภทนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่ทรัพย์สินนั้น หมดอายุการใช้งาน ชำรุด ทิ้ง บริจาค สูญหาย ทำลาย หรือโอนย้ายไปยังบริษัทในเครือ เป็นต้น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ

คุณลักษณะเด่นของการตัดจำหน่ายทรัพย์สิน

หน้าต่างตัดจำหน่ายทรัพย์สิน ใช้สำหรับการลบทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนออก ในทางบัญชีเมื่อลบสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนจะต้องผ่านรายการ เป็นการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ ในทางบัญชีทรัพย์สินสามารถผ่านรายการการขายสินทรัพย์และรายได้ที่เกิดขึ้น

การตัดจำหน่ายทรัพย์สินนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านองค์กรหรือรายการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตัดจำหน่าย ซึ่งสามารถจำแนกประเภทการตัดจำหน่ายได้

การตัดจำหน่ายทรัพย์สินจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

การตัดขายทรัพย์สิน (การตัดขาย) คือ การขายทรัพย์สิน การเลิกใช้ทรัพย์สิน เช่น หมดอายุ เสื่อมสภาพ เก่าล้าสมัย ทำให้ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย เป็นต้น ซึ่งการตัดขายทรัพย์สินนั้น ก่อให้เกิดรายได้แต่อาจจะเป็นได้ทั้งได้กำไร หรือขาดทุนก็ได้

ทรัพย์สินตัดเป็นเศษซาก ไม่มีรายได้ (การตัดซาก) คือ การลบทรัพย์สิน โดยไม่มีรายได้ที่รับรู้สำหรับทรัพย์สิน เช่น การตัดเป็นเศษซาก การบริจาค การสูญหาย การทำลาย เมื่อทรัพย์สินถูกตัดจำหน่ายแบบไม่มีรายได้ ระบบจะสร้าง ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบไม่มีรายได้เท่ากับมูลค่าที่ตัดจำหน่าย

สามารถตรวจสอบทรัพย์สิน ของการตัดจำหน่ายทรัพย์สินได้
สามารถคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน ของการตัดจำหน่ายทรัพย์สินได้
สามารถแสดงการจำลองข้อมูลการบันทึกบัญชี ของการตัดจำหน่ายทรัพย์สินทั้งของต้นทางและปลายทางได้
สามารถตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบครั้งละหายเอกสารได้
หลักการทำงานหลังบันทึกข้อมูลหน้าต่างตัดจำหน่ายทรัพย์สิน จะแสดงข้อมูลเป็นการ Protect ทั้งหมดไม่สามารถแก้ไขได้


ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 284
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores